วันนี้มาเที่ยวในโครงการ Go Local Enjoy Local เที่ยวเมืองรอง ที่ไม่เป็นรองใคร โดยการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย (ททท.) มาที่จังหวัดอ่างทอง เพื่อมาเขาเล่าว่า”ไหว้พระประทานพร”ที่อ่างทอง #GoLocalEnjoyLocal #เที่ยวเมืองรองที่ไม่เป็นรองใคร #AmazingThailandGoLocal #เที่ยวท้องถิ่นไทยชุมชนเติบใหญ่เมืองไทยเติบโต #เที่ยวเมืองรอง #การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย #ททท #เที่ยวเมืองรองกับททท #TatXBlogger #TatXMediaAndBloggerclub
“เขาเล่าว่า” ภาคกลาง มีความเชื่อว่า “พระประทานพร” หากได้ไปกราบไหว้พระ 3 องค์ หรือเขาเล่าว่า …ที่นี่มีพระที่จะประทานพร 3 ข้อ ให้กับผู้ที่ไปกราบไหว้และสัมผัสได้ครบทั้ง 3 ที่ 3 องค์
เริ่มที่องค์แรก หลวงพ่อใหญ่ (พระพุทธรูปองค์ใหญ่ที่สุดในประเทศไทย) วัดม่วง อ.วิเศษชัยชาญ จ.อ่างทอง ให้ไปสัมผัสที่ปลายพระหัตถ์พระพุทธเจ้าองค์ใหญ่ ท่านจะประทานพรให้ตำแหน่งหน้าที่การงาน กิจการเจริญรุ่งเรือง เป็นใหญ่เป็นโต
หากไปเที่ยววัดนี้ต้องไปชมวิหารแก้ว และวิหารทองที่สร้างอยู่บนฐานดอกบัวใหญ่ที่สุดในโลก วัดม่วงนี้มีรูปองค์พระดังมากมาย และมีเรื่องราวคำสอนการทำดีทำชั่ว บุญบาปที่จะได้รับ
องค์ที่ 2 หลวงพ่อสด หรือพระสงฆ์องค์ใหญ่ วัดจันทรังษี อ.เมือง จ.อ่างทอง ให้ไปสัมผัสลูกแก้วที่ฐานพระ ท่านจะประทานพรให้สุขภาพสดใสแข็งแรง
องค์ที่ 3 พระนอน (พระนอนองค์ที่ยาวที่สุดในประเทศไทย) วัดขุนอินทประมูล อ.โพธิ์ทอง จ.อ่างทอง ให้ไปสัมผัสที่ฝ่าพระบาทพระนอน ท่านจะประทานพรให้มีอายุยืนยาว
ไปถึงวัดขุนอินทประมูล ต้องไปชมพระอุโบสถมูลค่า 130 ล้าน ซึ่งดร.เถลิง เหล่าจินดา และพุทธศาสนิกชนร่วมกันบริจาคสร้างขึ้น ถูกเรียกว่าโบสถ์ไฮเทค เพราะมีทั้งลิฟท์และบันไดเลื่อน ที่เป็นจุดเด่นอีกอย่างของโบสถ์แห่งนี้คือ บนฝาผนังของโบสถ์ จะมีภาพวาดการก่อสร้างอุโบสถแห่งนี้ และภาพของพระนอนวัดขุนอินทประมูล มีการวาดภาพรถเครนขณะก่อสร้างอุโบสถ และภาพของพุทธศาสนิกชนที่ใจบุญที่มาร่วมบริจาคเงินเข้าวัด โดยเลือกสรรภาพให้ช่างวาดในหลายลักษณะ เช่น ภาพครอบครัว ภาพคณะทัวร์ ภาพรับปริญญา และอีกต่างๆ นานา มีภาพวาดของคนดังเช่น นายเฉลิมชัย โฆษิตพิพัฒน์ ศิลปินแห่งชาติ นายธงชัย ประสงค์สันติ ร.อ.สมจิตร จงจอหอ ฯลฯ
แล้วแวะไปทานอาหารร้านดังของจังหวัด ร้านนิรมิต
บรรยากาศร่มรื่น
จากนั้นเราได้ไปตลาดศาลเจ้าโรงทอง ตลาดเก่ามีอายุกว่า 100 ปี เป็นชุมชนของชาวไทยเชื้อสายจีนส่วนใหญ่ ยังคงเห็นสภาพบ้านเรือน ตึกแถวไม้ ร้านขายของชำ ร้านขายเครื่องยาจีนและไทย ซึ่งยังคงเป็นตลาดเก่าที่มีสภาพสมบูรณ์มากที่สุดแห่งหนึ่ง ตลาดนี้เป็นแหล่งผลิตขนมไทยโบราณ เช่น ขนมดอกลำดวน ขนมโสมนัส ขนมดอกดิน ซึ่งเป็นขนมพื้นบ้านของเมืองวิเศษชัยชาญ และยังมีขนมเปียะ(กินแล้วรวย) ขายอยู่หลายร้าน ส่วนร้านกาแฟเก่าแก่ก็ต้องนี่เลย ร้านกาเจ๊า
แล้วไปต่อที่พระตำหนักคำหยาด ปัจจุบันเป็นโบราณสถาน ตั้งอยู่ในเขตวัดร้างชื่อว่า วัดโพธิ์ทอง ตำบลคำหยาด อำเภอโพธิ์ทอง จังหวัดอ่างทอง พระตำหนักคำหยาดเป็นพระตำหนักของสมเด็จพระเจ้าอุทุมพร หรือ ขุนหลวงหาวัด พระมหากษัตริย์องค์ที่ 32 (บางแห่งนับว่าเป็นพระองค์ที่ 33) ราชวงศ์บ้านพลูหลวงแห่งกรุงศรีอยุธยา
พระตำหนักก่อด้วยอิฐ ยกพื้นสูง มีใต้ถุนและเจาะช่องใต้ถุน เป็นรูปประตูโค้งแหลมตามแบบที่นิยมมาตั้งแต่สมัยสมเด็จพระนารายณ์มหาราช มีมุขย่อกระเปาะด้านหน้าทางทิศตะวันออก เครื่องบนไม่มีเหลือ คงปรากฏเพียงผนังตึก
จากนั้นไปเดินเล่นแถบบ้านยี่ล้น ที่อ.วิเศษชัยชาญ จ.อ่างทอง กลุ่มเกษตรกรพลิกผันอาชีพจากชาวนาหันมาผลิตแผ่นข้าวตังกันมากมายในรูปแบบต่างๆ เช่น ข้าวตังหมูหยอง ข้าวตังหน้าตั้งน้ำพริกเผา
รายได้ดีกันเลยทีเดียว
แล้วเดินเข้าไปไหว้พระที่วัดใหญ่ บ้านยี่ล้น
ปิดท้ายวันที่วัดไชโยวรวิหาร หรือ วัดเกษไชโย เดิมเป็นวัดราษฏร์สร้างมาแต่ครั้งใดไม่ปรากฏ มีความสำคัญขึ้นมาในสมัยรัชกาลที่ 4 เมื่อสมเด็จพระพุฒาจารย์ (โต พรหมรังสี) แห่งวัดระฆังโฆสิตาราม ธนบุรี ได้ขึ้นมาสร้างพระพุทธรูปปางสมาธิองค์ใหญ่หรือหลวงพ่อโตไว้กลางแจ้ง องค์เป็นปูนขาวไม่ปิดทอง ต่อมาในสมัยรัชกาลที่ 5 ได้เสด็จฯ มานมัสการและโปรดเกล้าฯให้ปฏิสังขรณ์วัดไชโยขึ้นเมื่อ พ.ศ.2430 แต่แรงสั่นสะเทือนระหว่างการลงรากพระวิหารทำให้องค์หลวงพ่อโตพังลงมาจึงโปรดเกล้าฯ ให้สร้างหลวงพ่อโตขึ้นใหม่ตามแบบหลวงพ่อโต วัดกัลยาณมิตร มีขนาดหน้าตักกว้าง 8 วา 6 นิ้ว สูง (สุดยอดรัศมีพระ) 11 วา 1 ศอก 7 นิ้ว และพระราชทานนามว่า พระมหาพุทธพิมพ์ มีการจัดงานฉลองซึ่งนับเป็นงานใหญ่ที่สุดของจังหวัดอ่างทองในสมัยนั้นและในวิหารที่หันหน้าออกสู่แม่น้ำเจ้าพระยาประดิษฐานรูปหล่อสมเด็จพระพุฒาจารย์ (โต พรหมรังสี) ขนาดหน้าตักกว้าง 5 เมตร สูง 7 เมตร สร้างเสร็จเมื่อปี พ.ศ. 2437 องค์หลวงพ่อโตประดิษฐานอยู่ในพระวิหารที่มีความสูงใหญ่สง่างามแปลกตากว่าวิหารแห่งอื่นๆ พุทธศาสนิกชนจากที่ต่างๆ มานมัสการอย่างไม่ขาดสาย ติดกับด้านหน้าพระวิหาร มีพระอุโบสถก่อสร้างด้วยสถาปัตยกรรมไทยอันงดงามหันด้านหน้าออกสู่แม่น้ำเจ้าพระยา ภายในพระอุโบสถมีภาพจิตรกรรมฝาผนังเรื่องพุทธประวัติ ฝีมือช่างสมัยรัชกาลที่ 5 ประดิษฐานรูปหล่อสมเด็จพระพุฒาจารย์ (โต พรหมรังสี) แห่งวัดระฆังโฆสิตาราม ธนบุรี ปัจจุบันวัดไชโยวรวิหารได้รับการบูรณปฏิสังขรณ์ใหม่จนมีความงามสมบูรณ์ยิ่ง
ไปเที่ยวอ่างทองกันค่ะ