Travelista นักเดินทาง

"365 วันของฉันคือการเดินทาง"
นักข่าว-บล็อกเกอร์-นักเขียนพ็อคเก็ตบุ๊ค-โค๊ชออนไลน์

บพข.และกองทุนส่งเสริม ววน.หนุนทุนวิจัยยกระดับอาหารสุขภาพพิษณุโลกศูนย์กลางท่องเที่ยวสุขภาพภาคเหนือตอนล่าง

tags: ท่องเที่ยวไทย, เขียนเมื่อ : 17 มกราคม 2565 15:26:38 จำนวนผู้ชม : 7196
บพข.และกองทุนส่งเสริม ววน.หนุนทุนวิจัยยกระดับอาหารสุขภาพพิษณุโลกศูนย์กลางท่องเที่ยวสุขภาพภาคเหนือตอนล่าง

เมื่อวันที่ 15 มกราคม 2565 มีการจัดงานนิทรรศการ “เมืองสองแคว แลอาหารถิ่น เมนูกินเพื่อสุขภาพ” ณ บ้านเจ้าจัน จันทร์เจ้า ชุมชนท่องเที่ยว OTOP นวัตวิถีบ้านวัดจันทร์ ศูนย์เรียนรู้บ้านวัดจันทร์ ถ.บรมไตรโลกนาถ 39 อ.เมือง จ.พิษณุโลก

กิจกรรมหนึ่งในโครงการวิจัย เรื่อง “การยกระดับความเชื่อมั่นด้านอาหารปลอดภัย และอาหารพื้นถิ่นเพื่อสุขภาพเพื่อส่งเสริมการท่องเที่ยวเชิงสุขภาพในเขตภาคเหนือตอนล่าง” โดยมี รศ.ดร.วิภารัตน์ เชื้อชวด ชัยสิทธิ์ และคณะ ภาควิชาเคมี คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร เป็นหัวหน้าโครงการ ภายใต้แผนงานวิจัยเรื่อง “การพัฒนาขีดความสามารถเพื่อส่งเสริมการเป็นศูนย์กลางการท่องเที่ยวส่งเสริมสุขภาพภาคเหนือตอนล่าง” โดยมี รศ.ดร.ภูพงษ์ พงษ์เจริญ เป็นผู้อำนวยการแผนงานวิจัยดังกล่าว ซึ่งได้รับทุนสนับสนุนการวิจัย จากหน่วยบริหารและจัดการทุนด้านการเพิ่มความสามารถในการแข่งขันของประเทศ (บพข.) ปีงบประมาณ 2564 งบประมาณวิจัยจาก กองทุนส่งเสริมวิทยาศาสตร์วิจัยและนวัตกรรม (ววน.)

บพข.และกองทุนส่งเสริม ววน.หนุนทุนวิจัยยกระดับอาหารสุขภาพพิษณุโลกศูนย์กลางท่องเที่ยวสุขภาพภาคเหนือตอนล่าง

งานนิทรรศการดังกล่าว ได้รับเกียรติจาก ดร.เปรมฤดี ชามพูนท นายกเทศมนตรีนครพิษณุโลก พลเอก ดร.ศิริ ทิวะพันธุ์ อดีตแม่ทัพภาคที่ 3 และประธานสถาบันพัฒนาสี่แยกอินโดจีน และ ดร.บุญทรัพย์ พานิชการ รองอธิการบดีมหาวิทยาลัยนเรศวร ร่วมเป็นประธานในพิธีเปิดนิทรรศการในครั้งนี้

นอกจากนี้ ยังมีผู้แทนจากชุมชนท่องเที่ยว OTOP นวัตวิถีในจังหวัดพิษณุโลก ทั้งหมด 10 ชุมชนด้วยกัน ได้แก่ ชุมชนบ้านจอมทอง บ้านยางโทน บ้านท่าโพธิ์ บ้านสมอแข บ้านโคกมะตูม บ้านหัวแท บ้านอรัญญริก บ้านผารังหมี กลุ่มแม่บ้าน บ้านวังส้มซ่า ชมรมอาหารเคียงถิ่น ชมรมผู้สูงอายุบ้านวัดจันทร์ ซึ่งได้นำอาหารพื้นถิ่นเพื่อสุขภาพทั้งคาวและหวาน รวมกันมากกว่า 45 ชนิด มาร่วมจัดนิทรรศการในครั้งนี้

บพข.และกองทุนส่งเสริม ววน.หนุนทุนวิจัยยกระดับอาหารสุขภาพพิษณุโลกศูนย์กลางท่องเที่ยวสุขภาพภาคเหนือตอนล่าง

โดยในนิทรรศการได้ให้ความรู้ด้านสรรพคุณของสมุนไพรในอาหารพื้นถิ่น และเกร็ดความรู้เพื่อสุขภาพ โดยมีคุณกัณฐ์มณี พูลธนทวีกิจ ประธานชุมชนท่องเที่ยว OTOP นวัตวิถีบ้านวัดจันทร์ และคุณกนกนาถ ลิขิตไพรวัลย์ ผู้ใหญ่บ้านหมู่ที่ 2 บ้านวัดจันทร์ เป็นผู้ประสานงานและสนับสนุนการจัดนิทรรศการในครั้งนี้ด้วย

บพข.และกองทุนส่งเสริม ววน.หนุนทุนวิจัยยกระดับอาหารสุขภาพพิษณุโลกศูนย์กลางท่องเที่ยวสุขภาพภาคเหนือตอนล่าง

กิจกรรมในงานนิทรรศการ ประกอบด้วยการเสวนาอาหารพื้นถิ่น เมนูสุขภาพ บ้านวัดจันทร์ อ.เมือง จ.พิษณุโลก ตำนานรักลูกจันทร์ อาหารจากลูกจันทร์ ขนมไทยโบราณสูตรสุขภาพ อาหารพื้นถิ่นชุมชนไท-ยวน บ้านสมอแข อ.เมือง จ.พิษณุโลก โดย คุณสิริพันธ์ เอี่ยมสาย เรื่องเล่าข้าวต้มแดก อาหารถิ่นบ้านผารังหมี และ เรื่องเล่า “ส้มฉุน” จากบ้านวังส้มซ่า ซึ่งเมนูขนมหวานที่มีกล่าวถึงใน กาพย์เห่ชมเครื่องคาว-หวานในสมัยรัชกาลที่ 2 โดย คุณสวย จันดี กลุ่มแม่บ้านบ้านวังส้มซ่า และ คุณจารุวัฒน์ อิศรางกูร ณ อยุธยา ผู้ใหญ่บ้าน หมู่ที่ 1 บ้านวังส้มซ่า ต.ท่าโพธิ์ อ.เมือง จ.พิษณุโลก เรื่องเล่าอาหารหวาน อาหารถิ่น เมนูกินเพื่อสุขภาพ เมืองสองแคว โดยมีการสาธิตทำขนมช่อพระจันทร์ และสัมปันนี เรื่องเล่า ไก่ต้มน้ำอ้อย น้ำแม่งุด น้ำบุหลัน ขนมแสร้งว่า ขนมตะลุ่ม และขนมจันทร์เสวย

บพข.และกองทุนส่งเสริม ววน.หนุนทุนวิจัยยกระดับอาหารสุขภาพพิษณุโลกศูนย์กลางท่องเที่ยวสุขภาพภาคเหนือตอนล่าง

นอกจากนี้ยังมีกิจกรรมปรับสมดุลร่างกาย ด้วยการออกกำลังกายมณีเวช โดยอาจารย์จากคณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร ภายใต้โครงการวิจัยการพัฒนาโปรแกรมการสร้างเสริมสุขภาพต้นแบบเชิงการท่องเที่ยวสุขภาพเขตภาคเหนือตอนล่าง

ทีมวิจัยได้เล็งเห็นถึงความสำคัญด้านความปลอดภัยของอาหาร และการใช้วัตถุดิบที่ปราศจากสารปนเปื้อน ซึ่งสามารถช่วยยกระดับมาตรฐานการบริการอาหารเพื่อการท่องเที่ยวเชิงสุขภาพได้ โดยได้นำองค์ความรู้ด้านนวัตกรรมชุดทดสอบสารปนเปื้อนในอาหารเพื่ออาหารปลอดภัยต่างๆ และนวัตกรรมผงล้างผักและผลไม้ชนิดฟองฟู่ ไปอบรมเพิ่มพูนศักยภาพให้กับสถานประกอบการและชุมชนท่องเที่ยวต่างๆ เช่น บ้านวัดจันทร์ บ้านวังส้มซ่า บ้านผารังหมี ต.บ้านไร่ อ.บางกระทุ่ม และจะขยายผลไปยังในจังหวัดสุโขทัย และเพชรบูรณ์ต่อไป

บพข.และกองทุนส่งเสริม ววน.หนุนทุนวิจัยยกระดับอาหารสุขภาพพิษณุโลกศูนย์กลางท่องเที่ยวสุขภาพภาคเหนือตอนล่าง

ทางทีมวิจัยคาดหวังว่าสิ่งเหล่านี้สามารถช่วยยกระดับมาตรฐานการบริการอาหารเพื่อการท่องเที่ยวเชิงสุขภาพ เพื่อส่งเสริมการท่องเที่ยวเชิงสุขภาพให้กับชุมชน และสามารถพัฒนาจังหวัดพิษณุโลกให้เป็นศูนย์กลางการท่องเที่ยวเชิงสุขภาพในเขตภาคเหนือตอนล่างได้ในอนาคต

tags: ท่องเที่ยวไทย, จำนวนผู้ชม : 7196

© www.bloggertravelista.com 2018