Travelista นักเดินทาง

"365 วันของฉันคือการเดินทาง"
นักข่าว-บล็อกเกอร์-นักเขียนพ็อคเก็ตบุ๊ค-โค๊ชออนไลน์

“TEA Story” ชาญชัย กุลถาวรากร

tags: ท่องเที่ยวไทย, เขียนเมื่อ : 16 พฤษภาคม 2567 17:31:19 จำนวนผู้ชม : 28371
“TEA Story” ชาญชัย กุลถาวรากร

เปิดห้องทำงานของคุณชาญชัย กุลถาวรากร ประธานกรรมการบริหาร บริษัทหลักทรัพย์ เอเอสแอล จำกัด ผู้บริหารระดับแนวหน้าของเมืองไทย แม้จะผ่านวิกฤติเศรษฐกิจไทยมาครั้งแล้วครั้งเล่า และเขาก็ผ่านวิกฤติเหล่านี้มาได้ทุกครั้ง จนถูกคนในวงการการเงินยกย่องให้เป็น “เสือ 9 ชีวิต” เขามีความรอบรู้ด้านการเงิน หลักทรัพย์ และเศรษฐกิจอย่างหาตัวจับยากคนหนึ่งของเมืองไทย

“TEA Story” ชาญชัย กุลถาวรากร

แต่วันนี้ เราจะมานั่งสนทนากับเขาในมุมมองที่ไม่ใช่การบริหาร หากแต่เป็นเรื่อง “ชาจีน” ซึ่งเขาเป็นผู้เชี่ยวชาญด้านชา อย่างหาตัวจับยากคนหนึ่งของเมืองไทย

“TEA Story” ชาญชัย กุลถาวรากร

โต๊ะชาที่แสนอลังการมากวางอยู่มุมหนึ่งของห้องทำงานเขา ไม่ถึงกับเป็นโต๊ะชาจีนโบราณ หากแต่ออกแบบให้ดูคลาสสิคและสวยงาม สะอาดสะอ้าน จัดวางทุกสิ่งอย่างเป็นระเบียบ

“TEA Story” ชาญชัย กุลถาวรากร

เมื่อจะฟังคุณชาญชัยเล่าเรื่องชาจีน เราได้เข้าไปค้นหาว่า ลักษณะผู้ชงชาจะต้องมีอะไรบ้าง ซึ่งคุณชาญชัยมีครบทั้ง 1. การแต่งกายที่สะอาดสง่างาม 2. ลักษณะท่าทางนั่ง ยืน เดินที่ดี 3. กิริยาท่าทางที่งดงาม และ 4. มารยาทที่ดี จริงๆอันนี้อาจจะไม่ใช่กฎอะไรที่ตายตัว แต่ทำให้การชงชาและชิมชานั้น เพลิดเพลินไปกับอรรถรสของผู้ชงให้เราชิม

“TEA Story” ชาญชัย กุลถาวรากร

ที่นี่มีอุปกรณ์และภาชนะชงชาครบทั้ง ถาดชา  ชุดถ้วย เครื่องชงชา แก้วพักชา ตาข่ายกรอง เป็นโต๊ะที่ออกแบบให้ทิ้งน้ำชาลงไปได้เลย

“TEA Story” ชาญชัย กุลถาวรากร

ผู้ชงชานั้น จะต้องรู้รายละเอียดของตัวชาที่จะชงเป็นอย่างดี ควบคุมปริมาณชาและน้ำ น้ำที่เดือดอย่างเหมาะสม การทำความสะอาดชา ให้ความสำคัญกับกระตุ้นให้ชาตื่นตัว

“TEA Story” ชาญชัย กุลถาวรากร

เราฟังคุณชาญชัยเล่าถึงชาแต่ละตัว ที่มีคุณสมบัติล้ำเลิศแตกต่างกัน เช่นชาแดงของจีนที่ดี ควรเป็นชาจากภาคกลางหรือตอนใต้ของประเทศจีน หรือชาขาวที่ดีควรเป็นชาที่เปลี่ยนฤดู ฟังเรื่องราวชาต่างๆ ย้อนไปตั้งแต่สมัยซูสีไทเฮา และเรื่องราวของต้นชาในจีน จะมีหลายแบบ บางต้นไม่ใช่ต้นเตี้ยๆ แต่มีความสูง 8-9 เมตรก็มี ชาเหล่านั้นจะมีรากที่ลึกมาก ฟังเรื่องราวของชาทั่วไปและชาหมัก และดมกลิ่นหอมของชาไปด้วย

“TEA Story” ชาญชัย กุลถาวรากร

ฟังคำกล่าวที่ว่า “1 ปีเป็นชา , 3 ปีเป็นยา , 7 ปีเป็นทองคำ” เพราะชาที่ถูกเก็บมายาวนาน จะยิ่งมีมูลค่าสูง ราคาแพงมาก

“TEA Story” ชาญชัย กุลถาวรากร

เราได้เห็นชาจากสิบสองปันนา คนจีนเรียกว่าชารัชกาลที่ 9 เพราะผลิตออกมาเมื่อวันที่ 13 ตุลาคม 2559 วันเสด็จสวรรคตของพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช มหิตลาธิเบศรรามาธิบดี จักรีนฤบดินทร สยามินทราธิราช บรมนาถบพิตร ซึ่งชาวจีนก็รำลำพระองค์และเก็บใบชาเอาไว้ในวันนั้น 

“TEA Story” ชาญชัย กุลถาวรากร

ตอนนี้ราคาใบชานี้ก็พุ่งไปสูงมาก คุณชาญชัยน่าจะเป็นผู้ครอบครองชาในล็อตนี้มากที่สุดในเมืองไทย ซึ่งเขาบอกว่าไม่อยากพูดถึงเรื่องราคา หากแต่เป็นชาที่มีคุณค่าทางจิตใจและการรำลึกถึงพระองค์ท่านมากกว่า

ฟังวิธีการชงชาที่แสนจะเอาใจใส่ เริ่มจากทำความสะอาดภาชนะต่างๆ เอาน้ำร้อนลวกชา 1 ครั้ง “เป็นการทำความสะอาดชา และปลุกให้ชาตื่น” และกรองชา น้ำแรกนั้นยังไม่ควรทาน เพราะอาจมีฝุ่นผงต่างๆ จึงเป็นน้ำทำความสะอาด

“TEA Story” ชาญชัย กุลถาวรากร

จากนั้นต่อด้วยน้ำที่สอง รสชาเริ่มนุ่มขึ้น ความขมลดลง และน้ำที่สาม ชาจะเริ่มหวาน ชุ่มคอ และน้ำที่ 4 ก็ยังทานได้ แม้รสจะอ่อนลงนิดหน่อย เป็นความรู้ว่าเราควรทานชาด้วยน้ำที่ 2-4

ทานชาต่างๆที่เป็นชาคุณภาพดีเสร็จ เราก็ยังรู้สึกว่า รสชาติชายังติดอยู่ในคอ และนุ่มชุ่มคอ นี่เองคุณสมบัติของชาคุณภาพสูง

“TEA Story” ชาญชัย กุลถาวรากร

คุณชาญชัยให้ข้อมูลว่าเวลาชงชา อย่าแช่ชาทิ้งไว้ในน้ำร้อน ควรให้น้ำไหลผ่านแล้วกรองใบชาทิ้ง จะทำให้ชามีรสชาติดีกว่า และไม่ควรทานชาแช่ค้างคืน

ชาที่ดีและการชงชาที่ถูกต้องจะทำให้ได้อรรถรสในการชิม

“TEA Story” ชาญชัย กุลถาวรากร

หากแต่ชาจะกลายเป็นสรรพคุณทางยาต่อร่างกาย ช่วยล้างไขมันในเส้นเลือด ช่วยเรื่องสุขภาพต่างๆ

“TEA Story” ชาญชัย กุลถาวรากร

เรายังได้ชมการตกแต่งห้องด้วยผ้ายันต์มากมาย ซึ่งคุณชาญชัยบอกว่าไม่ได้ชอบเพราะเป็น ของขลัง หากแต่เป็นงานศิลปะ ผ้ายันต์นั้นต้องเขียนด้วยลายมือ เป็นงานแฮนด์เมด หากทั้งผ้ายันต์แต่ละผืนยังมีเรื่องราวและที่มาอีกด้วย

“TEA Story” ชาญชัย กุลถาวรากร

ชาและผ้ายันต์เป็นอีก passion ในความชอบของเขา .......ชาญชัย กุลถาวรากร

(ผู้เขียนได้มีโอกาสถ่ายภาพกับคุณชาญชัย)

เรื่องและภาพโดย Travelista นักเดินทาง/สาธิตา โสรัสสะ

#TEAStory #ชาญชัยกุลถาวรากร #เรื่องของชา #ชาจีน #tea #teatime #ชา #ชิมชา

tags: ท่องเที่ยวไทย, จำนวนผู้ชม : 28371

© www.bloggertravelista.com 2018